ใบงานที่ 3
วิเคราะห์คุณสมบัติพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
พาวเวอร์ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย ปัจจุบันเพาเวอร์ซัพพลายที่จะนำมาใช้ควรมีกำลังไฟตั้งแต่ 400 วัตต์ขึ้นไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้าน (ประเทศไทย) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 200-250 VAC พร้อมกระแสไฟประมาณ 3.0-6.0 A และความถี่ที่ 50Hz ดังนั้นเพื่อให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ เพาเวอซัพพลายจะต้องแปลงแรงดันไฟ AC ให้เป็น DC แรงดันต่ำในระดับต่างๆ รวมถึงปริมาณความต้องการของกระแสไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆด้วย โดยระดับของแรงดันไฟ (DC Output) ที่ถูกจ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายแต่ละรุ่น/ยี่ห้อจะใกล้เคียงกัน แต่ปริมารสูงสุดของกระแสไฟ (Max Current Output) ที่ถูกจ่ายออกมานั้นอาจไม่เท่ากัน (แล้วแต่รุ่น/ยี่ห้อ) ซึ้งมีผลต่อการนำไปคำนวลค่าไฟโดยรวม (Total Power) ที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวนั้น จะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆได้ด้วย
ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย
AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ พ.ศ. 2539 โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง
ATX 20 Pin
ATX 24 Pin
- สัญญาณต่างๆของเพาเวอร์ซับพลาย
"Power Good"คือ
สัญญาณบอกว่ามีไฟเลี้ยง โดยทันทีที่เราจ่ายไฟให้กับเพาเวอร์ซัพพลาย
เช่นด้วยการเปิดสวิทซ์เครื่อง
เมนบอร์ดจะยังไม่เริ่มทำงานจนกว่าเพาเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณ Power
Good นี้ออกมา
ก็คือรอจนกว่าเพาเวอร์ซัพพลายจะตรวจสอบเสร็จว่าไฟเลี้ยงต่าง ๆ
ที่จ่ายออกมาอยู่ในระดับที่ต้องการและคงที่แล้ว
ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาประมาณครึ่งวินาที
เวลาเพียงเท่านี้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถทำงานได้นับล้านคำสั่ง
จึงต้องใช้สัญญาณนี้หยุดไว้ยังไม่ให้เริ่มทำงานจนกว่าแรงดันไฟฟ้าจะสมบูรณ์นั่นเอง
บางครั้งจะเรียกสัญญาณนี้ว่า Power OK หรือOK
สัญญาณ Power Good นี้มีมาตั้งแต่เพาเวอร์ซัพพลายตัวแรกของเครื่องพีซี มีลักษณะเป็นแรงดันไฟ +5 โวลต์ ซึ่งเพาเวอร์ซัพพลายราคาถูก ๆ บางตัวอาจจะไม่มีวงจรอะไรพิเศษ
สัญญาณ Power Good นี้มีมาตั้งแต่เพาเวอร์ซัพพลายตัวแรกของเครื่องพีซี มีลักษณะเป็นแรงดันไฟ +5 โวลต์ ซึ่งเพาเวอร์ซัพพลายราคาถูก ๆ บางตัวอาจจะไม่มีวงจรอะไรพิเศษ
"Soft Power"เครื่องพีซีสมัยก่อนและที่ปัจจุบันเรียกว่า
แบบ AT
จะมีสวิทซ์เปิดปิดวงจรไฟฟ้าที่จ่ายเข้าไปให้กับเพาเวอร์ซัพพลายโดยตรงเหมือนสวิทซ์ปิดเปิดไฟตามบ้านทั่วไป
แต่ในยุคของเครื่องแบบ ATX ซึ่งรวมไปถึง NLX , SFX และ WTX
ได้เปลี่ยนวิธีการปิดเปิดเครื่องไปเป็นการใช้สัญญาณบอกให้เพาเวอร์ซัพพลายเปิดหรือปิดเครื่อง
"Power on"สัญญาณที่ใช้เปิดปิดเครื่องนี้เรียกว่า
Power on หรือ PS on
ซึ่งจะเป็นไปได้ก็คือจะต้องมีไฟเลี้ยงเครื่องอยู่เล็กน้อยตลอดเวลา
เหมือนกับที่คุณเห็นทีวีมีไฟเรืองแสงอยู่ ไฟเลี้ยงนี้เรียกว่า +5V Stand by
หรือ +5V SB ซึ่งเป็นไฟ +5
โวลต์ที่จ่ายออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายอยู่ตลอดเวลาแม้ว่าจะสั่งปิดไปแล้วก็ตาม
นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาแล้ว
เพาเวอร์ซัพพลายบางตัวยังอาจจะมีสัญญาณอื่น ๆ
ซึ่งได้กำหนดไว้ในมาตรฐานแล้ว่าไม่จำเป็น คือ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น
+3.3V SB (Stand by)ในเพาเวอร์ซัพพลายแบบ ATX , สัญญาณ Fan ON/OFF
ในเพาเวอร์ซัพพลายแบบ SFX และสัญญาณอื่น ๆ ในเพาเวอร์ซัพพลายแบบ ATX และ
NLX ดังนี้
"+3.3V Sense"
เป็นตัวบอกกับเมนบอร์ดว่าไฟเลี้ยง +3
นั้นอยู่ในสถานะที่ดีหรือไม่เพื่อแสดงสถานะของไฟเลี้ยง +3.3V
ซึ่งถือได้ว่าสำคัญมากเนื่องจากใช้เลี้ยงซีพียูและ RAM นั่นเอง โดยไฟ +3.3V
อาจจะตกโดยที่ไฟอื่น ๆยังดีอยู่ก็เป็นได้
"Fan C"
เป็นสัญญาณควบคุมพัดลม
เพื่อให้ความเร็วพัดลมของเพาเวอร์ซัพพลายเปลี่ยนแปลงหรือหยุดไปได้ เช่น
เมื่อเครื่องเข้าสู่ Stand by mode
ก็สั่งหยุดพัดลมของเพาเวอร์ซัพพลายด้วยการส่งสัญญาณที่ต่ำกว่า 1 โวลต์ไป
"Fan M" ใช้คู่กับ Fan C
เป็นสัญญาณ monitor
เพื่อตรวจสอบว่าขณะนี้พัดลมของเพาเวอร์ซัพพลายหมุนด้วยความเร็วเป็นอย่างไร
เพื่อจะเตือนหรือหยุดการทำงานของซีพียูถ้าพัดลมทำงานผิดปกติ
เพื่อป้องกันความเสียหายเมื่อระบบระบายความร้อนมีปัญหา
สัญญาณของเมนบอร์ด ATX
นอกจากนี้ในเพาเวอร์ซัพพลายแบบของเมนบอร์ด ATX ยังเพิ่มสัญญาณต่อไปนี้อีกด้วย
"Sleep" สั่งให้เพาเวอร์ซัพพลายเข้าสู่ Sleep mode
"+3.3V" AUX เป็นไฟ + 3.3V Stand by เหมือนกับของ +5V
"+5V Sense" ใช้บอกสถานะของไฟ +5V เหมือนกับของ +3.3V
นอกจากนี้ในเพาเวอร์ซัพพลายแบบของเมนบอร์ด ATX ยังเพิ่มสัญญาณต่อไปนี้อีกด้วย
"Sleep" สั่งให้เพาเวอร์ซัพพลายเข้าสู่ Sleep mode
"+3.3V" AUX เป็นไฟ + 3.3V Stand by เหมือนกับของ +5V
"+5V Sense" ใช้บอกสถานะของไฟ +5V เหมือนกับของ +3.3V
การเลือกซื้อ Power Supply
- เลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง
ผู้ผลิตที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่ จะใช้วัสดุคุณภาพดีและมีความประณีต
ส่งผลต่อความปลอดภัยและความทนทานในการใช้งานที่นานขึ้น
ผู้ใช้อาจเลือกตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์หรือร้านค้าที่จำหน่าย
นอกจากนี้อาจเข้าไปสอบถามหรือหาข้อมูลจากผู้ใช้เว็บไซต์ทดสอบ
เว็บบอร์ดต่างๆอีกครั้งเพื่อความมั่นใจ
- เลือกกำลังไฟที่เพียงพอต่อคอมพิวเตอร์
ดูจากฉลากด้านข้างตัวอุปกรณ์ซึ่ง
PSU รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะระบุมาอย่างชัดเจน
ด้วยกำลังไฟที่จ่ายได้ต่ำสุด-สูงสุด
รวมถึงไฟเลี้ยงและค่าต้านทานที่เหมาะสมโดยที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ
350-500 วัตต์ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเกมเมอร์ก็จะสูงขึ้นไปอีกด้วยคือ 500-750
วัตต์ ยิ่งถ้าเป็นเกมการ์ดแบบคู่ไม่ว่าจะเป็น SLI หรือ CrossFire
ซึ่งการ์ดแต่ละตัวต้องใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มเติมด้วยแล้ว อาจต้องก้าวไปถึง 700
วัตต์ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วงภายในด้วยเช่นกัน
หากสงสัยวาคอมพิวเตอร์ของตนที่ใช้อยู่หรือกำลังจะซื้อ ต้องใช้PSUขนาดไหน
สามารถเข้าไปคำนวณการใช้พลังงานของเครื่องเพื่อใช้ในการเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลายได้ง่ายๆโดยมีเว็บไซต์หลายที่ให้บริการคำนวณ = http://www.extreme.outervision.com/psucalculatorlite.jsp การใช้งานเพียงกรอกรายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้ลงไปก็จะคำนวณการใช้งานออกมาให้ทันที
- คอนเน็กเตอร์สำหรับต่ออุปกรณ์ภายใน
ในเรื่องของคอนเน็กเตอร์ก็สำคัญเช่นกัน
ควรเลือก PSU ที่มีหัวจ่ายไฟให้เพียงพอกับการใช้งานของคุณ
ไม่ว่าจะเป็นคอนเน็กเตอร์ 20-pins หรือ 24-pinsสำหรับเพาเวอร์
หรืออย่างน้อยควรมีหัวแปลงมาให้ Molex 4-pins(12V)
ที่ใช้เพิ่มในกรณีของเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆรวมถึงถ้ามี 6-pins
สำหรับกราฟิกการ์ดที่ต้องใช้พลังงานเพิ่มก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีสายเพาเวอร์สำหรับฮาร์ดดิสก์ในแบบ SATA มาด้วยเช่นกัน
ดูง่ายๆก็คือ ควรจะต้องมีในส่วนที่เป็น Form Factor มาครบถ้วน
- การตรวจเช็คอาการเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย
Power Supply ที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน
จะเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์อื่นๆในคอมพิวเตอร์เสียหายได้ โดยเฉพาะ Harddisk
ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบสภาพของ Power Supply อยู่เสมอ
ถ้าพบว่าเสียหายควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตัวใหม่ ก่อนที่จะสายเกินไป
Power Supply มี 2 แบบ
แบบที่ 1. แบบ Linear มีหม้อแปลงใหญ่ขนาดใหญ่ ตัดวงจรโดย Fuse
แบบที่ 2. แบบ Switching มี Transistor ทำหน้าที่ตัดวงจร
2.1 แบบ XT มีขนาดใหญ่ มีหัวเดียว 12 เส้น มี Switch ปิด-เปิดอยู่ด้านหลัง Power Supply
2.2 แบบ AT เล็กกว่า XT มีหัวเสียบ 2 หัว คือ P8 , P9 มีสวิทช์ปิด-เปิดโยงจาก Power Supply มายังหน้า Case
2.3 แบบ ATX มีหัวเสียบเดียว 20 เส้น ไม่มี Switch ปิด-เปิด เมื่อสั่ง Shut Down จาก Program เครื่องจะปิดเองโดยอัติโนมัติ
* ถ้าต้องการตรวจสอบการใช้งานในขณะที่ไม่ได้ต่อกับ Mainboard ให้ Jump สายสีเทา (หรือสีเขียว) กับสีดำ พัดลมของ Power Supply จะหมุน แสดงว่าใช้งานได้
การใช้มิเตอร์วัดไฟ Power Supply
Power Supply มี 2 แบบ
แบบที่ 1. แบบ Linear มีหม้อแปลงใหญ่ขนาดใหญ่ ตัดวงจรโดย Fuse
แบบที่ 2. แบบ Switching มี Transistor ทำหน้าที่ตัดวงจร
2.1 แบบ XT มีขนาดใหญ่ มีหัวเดียว 12 เส้น มี Switch ปิด-เปิดอยู่ด้านหลัง Power Supply
2.2 แบบ AT เล็กกว่า XT มีหัวเสียบ 2 หัว คือ P8 , P9 มีสวิทช์ปิด-เปิดโยงจาก Power Supply มายังหน้า Case
2.3 แบบ ATX มีหัวเสียบเดียว 20 เส้น ไม่มี Switch ปิด-เปิด เมื่อสั่ง Shut Down จาก Program เครื่องจะปิดเองโดยอัติโนมัติ
* ถ้าต้องการตรวจสอบการใช้งานในขณะที่ไม่ได้ต่อกับ Mainboard ให้ Jump สายสีเทา (หรือสีเขียว) กับสีดำ พัดลมของ Power Supply จะหมุน แสดงว่าใช้งานได้
การใช้มิเตอร์วัดไฟ Power Supply
ดำ + ดำ = 0 V
ดำ + แดง = 5 V
ดำ + ขาว = -5 V
ดำ + น้ำเงิน = -12 V
ดำ + ส้ม = 5 V
ดำ + เหลือง = 3.3 V
ดำ + น้ำตาล = 12 V
* เข็มมิเตอร์ตีกลับ ให้กลับสาย ใช้ค่า ติด -
*AC=220 V (L กับ N)
L1 380 Vac
L2 380 Vac
L3 380 Vac
N Nutron , G ไม่มีไฟ
*230W (23A) - 300W (30A)
โดย W=V*I